รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ภายใต้แนวคิด “R-e-s-p-e-c-t สร้างการยอมรับต่อความเท่าเทียม”

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 นางสาวชลลดา ชนะศรีรัตนกุล พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้นายภูธิป พรหมปาน นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ สิบเอกสัจจะ อาวุธ นักพัฒนาสังคม นางสาวจันทรา เหล่ากูล นักพัฒนาสังคม นางสาวเหมรัตน์ หงษ์ทอง นักสังคมสงเคราะห์ และนางสาวอมราวดี ห่วงงาม นักศึกษาฝึกสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ภายใต้แนวคิด “R-e-s-p-e-c-t สร้างการยอมรับต่อความเท่าเทียม” โดยการติดริบบิ้นสีขาว สัญลักษณ์เพื่อแสดงถึงการร่วมกันต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย ไม่กระทำความรุนแรงในทุกรูปแบบ ซึ่งองค์กรสหประชาชาติได้รับรองให้วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น “วันขจัดความรุนแรงต่อสตรีสากล” สำหรับประเทศไทยได้มิมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2542 กำหนดให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็น “เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรง” ให้สังคมตระหนักและร่วมป้องกันและขจัดความรุนแรงต่อเด็ก สตรี ให้หมดสิ้นไป ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอพุนพิน และมอบป้ายศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลถ้ำสิงขร ณ องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม


Share:

[DISPLAY_ULTIMATE_SOCIAL_ICONS]